Open menu

ชรินทร์-เพชรรา-คู่รักอมตะ

5 ย. ครองรักยืนยง

            คนเรามีลายมือที่เหมือนกันหรือเส้นลายมือในมือที่เหมือนกันมากเท่าไหร่หรือมากที่สุดก็มักจะเป็นเนื้อคู่กัน ครองรักกันเป็นสุข รักกันมั่นคงไม่เลิกรา  เป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่    

        จากประสบการณ์ที่ผมได้เฝ้าสังเกตและการศึกษาวิเคราะห์ทางลายมือ ก็พอที่จะยืนยันได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง   ผมเคยเก็บ ตัวอย่างลายมือคู่รักไว้จำนวนมากและพยายามวิเคราะห์ว่าทำไมคนที่เลิกรากัน นั้นมีอะไรที่แตกต่างหรือเข้ากันไม่ได้ ซึ่งเส้นลายมือที่แตกต่างกันมากนี่แหละคือสาเหตุสำคัญของการเลิกรากัน อ่านต่อไปนะครับแล้วจะเข้าใจได้มากขึ้นว่าเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร

        คนในครอบครัวหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก  สมมติว่ามีลูกชาย 2 คน ลูกสาว 2 คน นำลายมือพ่อไปเปรียบเทียบกันลูก 4 คน จะมีคนที่เหมือนกับพ่อมากที่สุดอยู่อย่างน้อยก็ 1 คน และก็เช่นกัน ในจำนวน 4 คน จะมีคนที่มีลายมือเหมือนแม่มากที่สุดอยู่อย่างน้อยก็ 1 คน   ไม่ว่าจะอย่างไร  เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน คนที่มีลายมือเหมือนพ่อก็จะผูกพันกับพ่อ มีอะไรหลายอย่างที่เหมือนพ่อ ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกลักษณะ แนวคิด การกระทำ และพ่อลูกคู่นั้นสื่อสารเข้าใจกันได้มากกว่าคนอื่น ๆ ในจำนวนพี่น้องท้องเดียวกัน และก็เช่นกันคนที่มีลายมือเหมือนแม่ก็จะเป็นคู่แม่ลูกที่สื่อถึงกันได้ดี กว่าคู่อื่น ๆ เช่นกัน  ไม่ว่าคนที่ลายมือเหมือนพ่อ หรือเหมือนแม่ จะเป็นลูกผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม คนที่ลายมือเหมือนแม่ก็สนิทและผูกพันกันแม่มากกว่า  คนที่มีลายมือเหมือนพ่อก็จะสนิทและผูกพันกับพ่อมากว่า  และจะเป็นอย่างนั้นสมอไม่ยกเว้น

        และเรื่องลายมือที่เหมือนจึงรวมไปถึงคู่รักที่ได้มาใช้ชีวิตร่วมกัน ถ้า ลายมือมีส่วนเหมือนกันมาก หรือยิ่งมากเท่าไรก็ย่อมเข้าใจอะไรเหมือนกัน  มีทรรศนะคติที่ตรงกัน  การคิดการกระทำก็จะออกไปในแนวเดียวกัน  ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจกันก็ย่อมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ความรักมีความมั่นคงตลอด ไป

     อย่างไรก็ตามหากรู้ตัวแล้วว่าเส้นสายในมือต่างกันมาก  โอกาส ที่จะมีปัญหาทั้งเรื่องที่คิด สิ่งที่ทำก็มักจะแตกต่างกัน  คิดต่างทำต่างก็อยู่ด้วยกันได้ หากมีเป้าหมายตรงกันคือความสำเร็จมั่นคงของครอบครัว  แต่ทั้งคู่ก็ต้องมีหลักยึดหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่สอดประสานกันอย่างน้อยก็ 5 ประการดังนี้

1.ยกย่อง  การ ให้เกียรติกัน ด้วยการกระทำ  การพูด  หรือยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างก็คือการยกย่อง  และต้องมีให้กันทั้งต่อหน้าและลับหลัง โบราณท่านว่า "ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่าน้ำเข้า"  

 2.ยืดหยุ่น การ ให้อภัยกัน  เรื่องบางเรื่องก็หยวน ๆ บ้าง  อย่าเคร่งครัดจนตึงเปะ พระท่านสอนว่า ทุกอย่างให้เป็นไปตามแนว "ทางสายกลาง"  เวลาจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้น

 3.ยินยอม  ให้ นึกถึงสมัยที่เคยรักกันใหม่ ๆ อะไรก็ยอม  แต่ในเมื่อเวลาเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนไปบ้างเป็นธรรมดา  คนที่ไม่เคยยอมบางเรื่องก็ต้องยอม  ต้องยอมเลิกกระทำบางอย่างที่เราชอบแต่เขาไม่ชอบ  "จงเอาใจเขา  มาใส่ใจเรา" แล้วจะรู้ว่าอะไรที่เราไม่ชอบแล้วเขายังทำมันเป็นอย่างไร

 4.แยกแยะ บาง คนอาจเข้าใจผิดไปว่า เมื่อแต่งงานอยู่ด้วยกันแล้วทุกอย่างเป็นเรื่องเดียวกันหมด  จะกินจะนอน จะไปไหนมาไหน จะคบกับใครพูดกับใคร  จะต้องรู้เรื่องให้หมด โทรไปไหน  โทรหาใคร ผู้ชายหรือผู้หญิง คุยกันนานจัง คุยเรื่องอะไร  ทำไมต้องพูดอย่างนั้น ทำไมต้องไปด้วย  ....ต้องแยกแยะให้เป็นเพื่อนเราเพื่อนเขา  ครอบครัวเราครอบครัวเขา  ทุกคนมีความต้องการที่จะเป็นส่วนตัว  ต้องแยกแยะเรื่องส่วนตัวบางเรื่อง  ให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติให้มากที่สุด  "ต้องรักษาระยะห่างให้พอเหมาะ"

 5.ยืนยัน ไม่ ว่าอะไรจะเกิดขึ้น "เรายังรักกัน...  ยืนยัน" เราทั้งคู่ต้องเอาความรักมาเป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นเราต้องยืนหยัดว่าเรายังรักกัน   "มีสุขร่วมเสพ  มีทุกข์ร่วมต้าน"  เราจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จับมือกันให้มั่นคงและจะเดินไปด้วยกัน  ไม่ทอดทิ้งกัน  คนเราหากคิดจะไปคิดจะเลิกราก็มักจะมีข้ออ้างมีเหตุผลเป็น 100 ที่จะไป  แต่จงระลึกไว้และใช้เพียงเหตุผลเดียวเพื่อที่จะอยู่ "คือรักกัน" และก็ ยืนยันว่าเราสองคน รักกัน

 รักแท้ คืออะไร ..?? ลายมือบอกรักแท้

คลิกอ่านเพิ่มเติม

ธนพงศ์  หลักนครพล


 

บทความหลักธรรมเกี่ยกับการครองรักครองเรือน

ลายมือเนื้อคู่, ลายมือคู่แท้  ในลายมือบอกได้หรือไม่ว่าใครคือเนื้อคู่

มีหลักในการดูลายามือเกี่ยวกับเนื้อคู่อยู่หลายอย่าง แต่จะต้องดูลายมือของทั้งสองคนประกอบกันเป็นสำคัญ  หลักเบื้องต้นในการดูลายมือเนื้อคู่โดยภาพรวม คนเราจะต้องมีอะไรเหมือนกันจึงจะเป็นคู่กันได้  เนื้อคู่มีหลายรูปแบบ คู่แท้ คู่เที่ยม คู่ทุกคู่ยาก  คู่เวรคู่กรรม...

ในนทางพุทธศาสนา มีหลักในการเป็นคู่ด้วยการทำบุญร่วมกันมาก และบุญที่จะทำให้คนเราได้พบกับและอยู่ด้วยกันได้ตลอดเป็นคู่แท้หรือเนื้อคู่กันน้นก็ประกอบด้วยสมธรรม หรือสมาธรรม 4 ประการคือ

คุณธรรมในการครองเรือน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชฎามาศ  ขาวสะอาด

บทนำ

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในการที่จะช่วยพัฒนาคนให้มีคุณธรรม และจริยธรรม  จุดเริ่มต้นของสถาบันครอบครัว คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนมาใช้ชีวิตร่วมกัน หรือมีความ สัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา และอาศัยอยู่ร่วมกันในสถานที่เดียวกันอาจมี หรือไม่มีผู้สืบสายโลหิตก็ได้มีคำ สุภาษิตโบราณที่ว่า  “ เมื่อปลูกเรือนก็ต้องตามใจผู้อยู่ ”    ซึ่งมีความหมายว่า ชายและหญิงที่ตกลง ปลงใจ ว่าใช้ชีวิตคู่ร่วมกันได้มีการแต่งงานกัน “ ความสุขในชีวิตคู่สมรสถือว่าเป็นความสุขที่แท้จริง การแต่งงาน ให้มีความสุขในชีวิตสมรสต้องมี หลักการครองชีวิตโดยใช้คุณธรรมในการครองเรือน ที่ให้ชีวิตการ แต่งงานมีความสุข

คุณธรรมในการครองเรือน

การครองเรือน หรือ การใช้ชีวิตสมรส คือ การที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีความพอใจซึ่งกันและกัน ตกลงใจ ที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและมีความสุขร่วมกัน การมาอยู่ร่วมกันของคนสองจะต้อง มีการปรับตัวเข้าหาซึ่งกันและกันแล้ว จำเป็นต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวที่ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ใช้ชีวิตคู่จนแก่เฒ่า ตามสุภาษิตโบราณที่ว่า “ ถือไม้เท้ายอดทอง ตระบองยอดเพชร“ มีหลักคุณธรรมการครองเรือนของ ทั้งสองฝ่ายตามหลักพุทธศาสนา การใช้ธรรมะในการเลือกคู่ครองมีผลที่จะทำให้การใช้ชีวิตคู่ดำเนินไป ได้อย่างราบรื่นและอยู่จนแก่เฒ่า เป็นการเลือกโดยมองเห็นด้วยตา  ใช้ธรรมะ  สมชีวิธรรม 4

 สมชีวิธรรม 4 คือ หลักธรรมคู่ชีวิต เป็นหลักธรรมที่จะทำให้คู่สมรส ใช้ชีวิตคู่อยู่กันจนแก่เฒ่ามีดังนี้

1) สมศรัทธา เลือกบุคคลที่มีความเชื่อเลื่อมใสในศาสนา หรือเคารพบูชาสิ่งต่าง ๆ เหมือนกัน มีความคิดเห็น เหมือนกัน มีรสนิยมตรงกัน มีจุดมุ่งหมายในชีวิตเหมือนกัน หรือถ้านับถือศาสนาต่างกัน ต้องให้เกียรติและ เคารพลัทธิความเชื่อของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ดูถูกเหยียดหยาม หรือก้าวก่ายความเชื่อถือ ของอีกฝ่ายหนึ่ง  สรุปได้ว่า การมีศรัทธาสมกันจะมีแนวคิด  มีความเชื่อ มีค่านิยม และมีเจตคติไปใน ทางเดียวกัน และที่ สำคัญคือ ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ดื้อดึงดันว่าความคิดของตนเองถูกต้อง

2) สมศีล เลือกบุคคลที่มีความประพฤติ มีศีลธรรม จรรยามารยาท และมีพื้นฐานการดำรงชีวิตที่คล้ายคลึง กัน หรืออยู่ในระดับเดียวกัน ฝ่ายหนึ่งทำบุญตักบาตรประจำ อีกฝ่ายจะทำหรือไม่ทำก็ได้ไม่บังคับซึ่งกัน และกัน ส่วนเรื่องที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ดีงามที่เคยประพฤติก่อนแต่งงาน ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น การเที่ยวกลางคืน การดื่มสุรา เป็นต้น

3) สมจาคา เลือกบุคคลที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีใจกว้าง มีความเสียสละ และมีความ พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้จะทำให้คนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข  คนเรา อยู่ด้วยกันจะต้องมีการเสียสละทั้งทรัพย์สิน เสียสละความสุขส่วนตนและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

4) สมปัญญา เลือกบุคคลที่มีสติปัญญาเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เป็นผู้ที่รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักว่าสิ่งมีประโยชน์ และสิ่งใดไม่ใช่ประโยชน์ ใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหา ยอมรับฟังเหตุผล

การปฏิบัติตนตามคุณธรรมในการครองเรือน

คู่สมรสเมื่อแต่งงานมาอยู่ร่วมบ้านเดียวกันฉันท์สามีภรรยา ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกันและกัน มีความซื่อสัตย์ ไม่ประพฤตินอกใจกัน ต้องรู้จักข่มใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ ระงับอารมณ์ หรือความรู้สึกที่ บกพร่องซึ่งกันและกัน ความสุขของชีวิตครอบครัวอยู่ที่การกระทำ หรือความประพฤติของสามีและภรรยา บุคคลทั้งสองต้องมีคุณธรรมและมีหน้าที่ที่ดีต้องปฏิบัติต่อกันฉันท์สามีและภรรยาด้วยดังนี้

1. ความซื่อสัตย์ ทั้งสามีและภรรยาต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกันทั้งวาจา ใจ และการกระทำ ในทุก ๆ เรื่อง เช่น ด้านความรัก ด้านเงิน ด้านคำพูด เป็นต้น ถ้ามีการปิดบังหรือไม่บอกตามความเป็นจริง อีกฝ่ายทราบ ความจริงในภายหลังจะเกิดความไม่ไว้วางใจ หวาดระแวงวิตกกังวลทำให้มีปัญหาในครอบครัวเกิดขึ้นได้

2. สร้างฐานะครอบครัว สามีและภรรยาช่วยกันสร้างฐานะครอบครัวให้มั่นคงได้ เริ่มตั้งแต่การใช้จ่ายเงิน อย่างเหมาะสม ประหยัด คุ้มค่าตามสิ่งที่จำเป็น และช่วยกันหาวิธีในการเพิ่มรายได้ พร้อมกับประหยัด รายจ่ายในครอบครัว ทำให้ฐานะของครอบครัวมีความมั่นคง

3.การจัดการงานบ้าน การดูแลบ้านต้องเป็นการทำร่วมกันทั้งสองฝ่าย ไม่มีการแบ่งงานกันว่างานนี้ เป็นงานของผู้หญิงหรือของผู้ชาย แต่เป็นการทำงานที่ต้องลงมือลงแรงในการทำงาน เพื่อให้ทุกอย่าง ภายในบ้านสะอาดเรียบร้อยน่าอยู่น่าอาศัย

4. การให้เกียรติ นับถือและร่วมทุกข์ร่วมสุข สามีภรรยาเมื่อแต่งงานกันต้องให้เกียรติกันและกันตามฐานะ ของการเป็นสามีภรรยา ช่วยคิดและพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ด้วยความรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อตนเอง และครอบครัวห่วงใยซึ่งกันและกัน หวังดีต่อกันด้วยความจริงใจ

5. ถนอมน้ำใจไม่ล่วงเกินสิทธิของแต่ละฝ่าย  เมื่อแต่งงานไปแล้วต้องรู้จักเกรงใจรักษาน้ำใจ ระวังไม่ละเมิด สิทธิส่วนบุคคล ต้องมีการเรียนรู้และสังเกตอุปนิสัยของคู่สมรสว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้รู้จักและยอมรับ นิสัยพร้อมกับนำมาปรับตัวและปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกันได้

6. ให้ความสนใจและแสดงความชื่นชม ความมีน้ำใจของคู่สมรสในเรื่องเล็กน้อยไม่ควรละเลยและคู่สมรส ไม่ควรมองข้าม การแสดงความสนใจหรือเอาใจใส่ต่อกันรับฟังเรื่องเล่า จะสร้างความรู้สึกที่มีคุณค่า และภาคภูมิใจให้กับอีกฝ่ายได้

7. การให้อภัย ถ้าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องทั้งสองต้องหาวิธีการที่เหมาะสมให้ฝ่ายที่กระทำผิดรู้สึกตัวและ เกิด ความสำนึกได้ พร้อมกับปรับความเข้าใจกันใหม่ เมื่อให้อภัยแล้วต้องไม่นำสิ่งเหล่านั้นมาพูดซ้ำ ให้สะเทือนใจอีก

8. การควบคุมอารมณ์  ต้องควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้ มีสติระลึกได้ ถ้าตนเองเป็นฝ่ายผิดต้องรู้จัก ขอโทษ ถ้าคู่สมรสเป็นฝ่ายผิดต้องพร้อมที่จะให้อภัย สิ่งที่สำคัญที่สุดของคู่สมรส ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ ของตนเองให้แสดงออกมาอย่างเหมาะสมจึงจะลดความขัดแย้งต่าง ๆ ได้

9. การรักและนับถือญาติของคู่สมรส คู่สมรสต้องให้ความรักเคารพพ่อแม่และญาติพี่น้องของทั้งสามีหรือ ภรรยา เช่นเสมือนเป็นญาติของตนเอง

สรุป

         การครองเรือนในชีวิตคู่ต้องมีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้ชีวิตการสมรสมีความสุข คุณธรรมในการครองเรือนที่สำคัญต้องปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ที่ดีต่อกันฉันท์สามีและภรรยาจึงจะ สมบูรณ์ตามหลักคุณธรรมในการครองเรือน


 

เครดิต  http://dusithost.dusit.ac.th/~ipc/homeethic.htm

สภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต