น้ำ ท่วมใหญ่ มหาอุทกภัยปี 2554 เริ่มต้นตั้งแต่ภาคเหนือไล่ลงมาถึงกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน -ธันวาคม 2554 คราวนี้ มีผู้คนเสียชีวิตมากว่า 600 คน และมีทรัพย์สินบ้านเรือนเสียหายมากจนประเิมินเป็นมูลค่าได้ยาก ประชาชนเดือดร้อนหลายล้านคน ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ย. 54
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบอุทกภัยในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลางพื้นที่่ประสบภัยทั้งหมด 65 จังหวัด เสียชีวิต 621 ราย สูญหาย 3 ราย
ข้อมูลจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - 29 พ.ย. 54
จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งนี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นใหม่และมีหลายสิ่งหลายอย่างสิ้นสุดลงเป็นไปตาม หล้ักคำสอนของพระพุทธเจ้าในหลักไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือทุกอย่างไม่เที่ยง(อนิจจัง) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) และดับสูญคือสิ้นสุดหรือไม่มี(อนัตตา) ใด ๆ ในโลกจะหนีจากหลักหรือกฏของธรรมะ (ธรรมชาติ) นี้ไปไม่ได้
ในอีกมุมหนึ่งของความเป็นมนุษย์ เรา จะได้เห็นสัจธรรมของมนุษย์ที่เป็นไปตามสัณชาติญาณเดิมส่วนหนึ่ง และส่วนหนึ่งจะเกิดจากการฝึกฝนจิตใจให้มีความเป็นมนุษย์(สัตว์ที่ประเสริฐ) ซึ่งมีท่านผู้รู้และได้สรุปกลุ่มคนออกเป็น 7 ประเภท ท่านที่ได้อ่่านแล้วหากมีพื้นฐานในหลัีกธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วก็จะสามารถ จัดเข้ากลุ่มธรรม หรือหัวข้อธรรมมะได้ ดังผลจะได้แทรกกลักไว้พอสังเขปในแต่ละข้อ
อุทกภัยใหญ่ แบ่งคนได้ 7 ประเภท
ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) บอกว่า เหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งนี้สามารถแบ่งคนในสังคมที่มีอยู่หลากหลายออกได้ เป็น 7 ประเภท ดังนี้
1. กลุ่มคนที่เข้าช่วยเหลือ เผื่อแผ่ แบ่งปันแก่ผู้อื่น
คน กลุ่มนี้มีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่นที่ได้รับความเดือดร้อนไม่ว่าคนนั้นจะไม่ใช่ ญาติพี่น้อง ไม่ใช่คนรู้จัก หรือแม้แต่เป็นคนที่ตัวเองไม่ชอบหน้า แต่เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ก็จะสละแรงกายแรงใจ แรงทรัพย์ เข้าไปช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ทันที เพราะมีจิตสำนึกและมนุษยธรรม
อย่าง ไรก็ตาม คนประเภทนี้อาจทุ่มเทกับสิ่งที่ตัวเองทำมากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย อารมณ์ ทำให้เกิดความเครียดขึ้น และสุดท้ายกลายมาเป็นกลุ่มเหยื่อซึ่งต้องหาคนมาช่วยดูแลตัวเองแทน วิธีแก้ไขคือต้องพักผ่อนบ้าง ผลัดเวรกับผู้อื่น เปลี่ยนบทบาทการทำงานลงบ้าง
ความ เห็นในหลักธรรมคนกุลุ่มนี้ถือว่าเป็นพรหมณ์คือมีพริหาร 4 อยู่ในวัฏปฏิบัติ คือมีจิต เมตตา มีกรุณา มีมุทิตา มีอุเบกขา (เมตตาคือเกิดความรู้สึกสงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ กรุณาคือเข้าไปช่วยเหลือหรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์)
2. กลุ่มคนที่ต้องทำตามหน้าที่ หรือภาระความรับผิดชอบ
บาง คนมีบทบาทที่ต้องทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและมีจิตอาสาที่จะทำอยู่แล้ว จึงยินดีที่จะเข้าไปช่วยโดยเก็บความทุกข์ของตัวเองไว้ก่อน แต่หากทำงานนานๆหรือเห็นเหตุการณ์ใดๆซ้ำๆนานๆจะทำให้ร่างกายล้า เหนื่อย อีกทั้งบางคนจะเกิดความเครียดเพราะคิดว่าครอบครัวตัวเองก็ยังเอาไม่รอด แต่ต้องมาทำงานอีก
วิธีแก้ไขก็คือต้องปรับตัวหาเวลาพักและหาสิ่งเติมเต็มให้ชีวิตตัวเอง เพื่อจะได้มีแรงเติมเต็มในการทำงานต่อไป
ความเห็นในหลักธรรมคนกุลุ่มนี้ถือว่าเป็นยึกหลักทิศ 6 คือคนเรามีหน้าที่ทีี่ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นให้ครบถ้วน
3. กลุ่มคนที่ร่วมด้วยช่วยกัน แม้ตัวเองจะประสบภัยเช่นกัน
เป็น คนกลุ่มคนที่ประสบกับความทุกข์เช่นเดียวกับผู้อื่นจึงเข้าใจชะตากรรมของผู้ อื่นดี และพร้อมที่จะช่วยหากช่วยเหลืออะไรได้ก็จะช่วย โดยคนกลุ่มนี้จะมีกำลังใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่น แต่ต้องปรับตัวเองให้เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ คือต้องเติมใจตัวเองให้เข้มแข็ง ดูแลตัวเองให้รอด และร่วมเป็นกำลังใจให้ผู้อื่นด้วย แต่หากวันใดรู้สึกแย่ก็พร้อมที่จะรับกำลังใจจากคนอื่นด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นแรงใจในวันข้างหน้า
ความ เห็นในหลักธรรมคนกุลุ่มนี้ถือว่าเป็นพรหมณ์คือมีพรหมวิหาร 4 อยู่ในวัฏปฏิบัติ คือมีจิต เมตตา มีกรุณา มีมุทิตา มีอุเบกขา (เมตตาคือเกิดความรู้สึกสงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ กรุณาคือเข้าไปช่วยเหลือหรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) นอกจากนั้นยังมีหลักธรรมที่เพิ่มเติมเข้ามาคือหลักของฆราวาสธรรม ประกอบด้วย ทาน ปิยะวาจา อัตถจริยา สมานัตตา
4. กลุ่มคนที่เอาตัวเองให้รอด คนอื่นจะเป็นอย่างไรไม่สน
คน อื่นเป็นอย่างไรไม่สนใจ แต่ต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน ค่อยคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรต่อ คนกลุ่มนี้จะขอบคุณคนที่เข้ามาช่วยเหลือ แต่ถ้าใครมารุกล้ำก็จะโมโหขึ้นมาทันที เพราะจะไม่ยอมให้ตัวเองประสบชะตากรรมคนเดียว ต้องให้ผู้อื่นเป็นอย่างเขาด้วย อย่างเช่นคำพูดที่ว่า "ทำไมฉันต้องโดน ทำไมบ้านฉันต้องโดนน้ำท่วม ทำไมคนอื่นไม่โดนอย่างฉัน"
ทั้ง นี้คนกลุ่มนี้ต้องรู้จักปรับตัวให้มาก โดยเฉพาะเรื่องอารมณ์ ต้องตั้งสติให้มากขึ้น รู้จักคำว่า "เรา" มากกว่า "ฉัน" ดังนั้นต้องหัดดับอารมณ์การสูญเสียลงบ้าง และต้องฝึกความเสียสละ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่น เพื่อจะสร้างความสุขให้ผู้อื่นด้วยเช่นกัน
ขาดในหลักธรรมของคนกลุ่มที่ 3
พรหมวิหาร 4 อยู่ในวัฏปฏิบัติ คือมีจิต เมตตา มีกรุณา มีมุทิตา มีอุเบกขา (เมตตาคือเกิดความรู้สึกสงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ กรุณาคือเข้าไปช่วยเหลือหรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) นอกจากนั้นยังมีหลักธรรมที่เพิ่มเติมเข้ามาคือหลักของฆราวาสธรรม ประกอบด้วย ทาน ปิยะวาจา อัตถจริยา สมานัตตา
5. กลุ่มคนที่จิตตกไปแล้วทั้งที่น้ำยังไม่ท่วมบ้าน
มี มากทีเดียวสำหรับคนกลุ่มนี้ ถึงได้เตรียมการทุกอย่างไว้พร้อมแล้วและรับฟังข่าวสารอยู่เสมอ ทำให้เกิดอาการผวา วิตกจริต คิดแต่ด้านลบไปต่างๆนานา พร้อมกับตื่นตูมกับเรื่องร้ายๆที่ได้ยินมา ใครที่มีอาการเช่นนี้ต้องเลิกรับรู้ข่าวสารร้ายๆ หันมามองเรื่องดีๆ ฟังเรื่องบวกๆบ้างเพื่อปลดอาการเครียดอาการรนให้ออกไป และทำอะไรก็ได้ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
ขาด หลักธรรมและความเข้าใจเรื่องอริยะสัจ 4 และเรื่องไตรลักษณ์ และที่สำคัญคือขาดสติ ขาดปัญญา ซึ่งทั้งหลายทั้งหมดก็จะอยู่ในหัวข้อธรรมะเรื่องมรรค 8
6. กลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่มีสติ
คน กลุ่มนี้ต่างจากกลุ่มคนประเภทที่ 5 คือ แม้ว่าเขาจะยังไม่ได้รับผลกระทบแต่ก็ไม่ตื่นตระหนก ตั้งสติ เตรียมพร้อมป้องกัน คิดหาทางออกเพื่อรับมือกับสถานการณ์ไว้อย่างดี ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงต้องเก็บใจ เก็บแรงเก็บกายไว้เป็นหลักให้กับคนกลุ่มอื่นๆด้วยก็จะดีไม่น้อย
ผู้ มีความพร้อมและเข้าใจหลักธรรมและความเข้าใจเรื่องอริยะสัจ 4 และเรื่องไตรลักษณ์ และที่สำคัญคือมีสติ และมีปัญญา ซึ่งทั้งหลายทั้งหมดก็จะอยู่ในหัวข้อธรรมะเรื่องมรรค 8
7. กลุ่มคนที่ไม่พายแต่เอาน้ำราน้ำตลอดเวลา
คน กลุ่มนี้เอาแต่พูดวิจารณ์คนอื่น หาเรื่องตำหนิได้เสมอ แต่ไม่เคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเลย มักจะสนุกกับการทำให้ผู้อื่นตื่นตระหนก สร้างความแตกแยกในสังคม มักจะพูดแต่ด้านลบด้านเดียว ซึ่งหากใครเป็นเช่นนี้ต้องคิดใหม่ พูดให้น้อยลง ทำให้มากขึ้น เปลี่ยนการเสียดสีมาเป็นการอาสา และลงมือทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับผู้อื่น เช่น ปลอบใจ ให้กำลังใจกับคนในประเทศ ดีกว่ามากล่าวโทษกัน
คน กลุ่มนี้ขาดธรรมะอย่างยิ่ง มีด้านลบในตัวเอง ชีวิตบกพร่องไปไม่ว่าจะด้วย ใจ วาจา กาย คือใจคิดไม่ถูกต้อง(ขาดสัมมาฑิตฐิและสัมมาสังกัปปะ) วาจาไม่ถูกต้อง (ขาดสัมมาวาจา) และกระทำไม่ถูกต้อง (ขาดสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะ)
จะ เห็นได้ว่าคนทั้ง 7 ประเภทล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน และทุกกลุ่มก็ต้องรู้จักปรับตัวเองให้ได้ ที่สำคัญก็คือต้องยึดหลักกายต้องรอด ต้องไม่เจ็บป่วย ใจต้องแกร่งคือจิตไม่ตก เพราะหากไม่มีแรงกายแรงใจ เราจะไม่สามารถมองไกลไปถึงวันหน้าได้ นอกจากนี้ยังต้องตั้งสติ เพราะสติจะช่วยคลายปัญหาทุกอย่างได้อย่างราบรื่น
สรุป ในหลักธรรมะ ถ้าศึกษาธรรมะอย่างเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตแล้วจะไม่ทุกข์ หรือทุกข์จริง ๆ ที่มีอยู่ก็จะไม่ทุกข์มากด้วยเพราะเข้าใจสิ่งที่เกิดสิ่งที่เป็นคือธรรมะ หรือธรรมชาติ ใด ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากเหตุหนึ่งเหตุใดเพียงอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบเกี่ยวกันมากมายและสะสมมานาน เหตุหนึ่งทำให้เกิดอีกเหตุหนึ่งและมีผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ในวงก้วาง และแยกกันไม่ได้ ผลก็จึงเกิดมาเป็นอย่างนี้ และการแก้ไขบางอย่างก็ทำได้ บางอย่างก็ต้องใช้เวลา บางอย่างก็แก้ไม่ได้เลย อย่างนี้หลักพุทธท่านว่าคือปฏิจจะสมุปบาท การแก้ไขต้องใช้หลักอริยสัจจะ 4 ทุกอย่างมาเแต่เหตุ ใครมีอำนาจ มีหน้าที่ ก็แก้ไขและปรับปรุงไป เราเองก็มีส่วนทำให้เกิดหรือไม่เกิดได้อีกเช่นกัน นี่คือหลักธรรมชาติที่จะนำมาแก้ไข ป้องกัน กับทุกเรื่องทุกเหตุการณ์อย่างมีสติ