ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยปัญญาด้านใดบ้าง ?
ต้นไม้ดูเจริญงอกงามเพราะแตกใบอ่อนอยู่เสมอ
ชีวิตจะงอกงามเหมือนต้นไม้ เริ่มต้นได้จากความคิด
“ความคิดสร้างสรรค์คือความงอกงามของชีวิต”
ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร ?
ความคิดสร้างสรรค์ CQ - Creativity Quotient(ความ ฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ)
ความฉลาดในการคิดสร้างสรรค์ จินตนาการหรือแนวคิดใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเล่น
งานศิลปะ การประดิษฐ์สิ่งของ
CQ จะสัมพันธ์กับเรื่องการเล่น ถ้าเด็กได้เล่นอย่างอิสระตามความชอบและเหมาะกับวัย
เด็กก็จะมีความคิดสร้างสรรค์
การปลูกฝังเรื่องนี้จึงอยู่ที่พ่อแม่มีเวลา เล่นและทำกิจกรรมที่ส่งเสริมจินตนาการกับลูก
เช่น การเล่นศิลปะ การหยิบจับของใกล้ตัวมาเป็นของเล่น การเล่านิทาน เป็นต้น
สิ่งที่พ่อแม่ทำได้ ก็คือ ต้องไม่เอากรอบความคิดเราไปปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
ปัจจัยหลักในการจะส่งเสริม CQ ให้เด็ก ๆ มีจินตนาการ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้
1.กระตุ้นให้เด็กได้คิดโดยการเปิดโอกาสให้ถาม ค้นหาข้อสงสัย และแสดงความคิดเห็น
2.เสริมสร้างจินตนาการตามที่เด็กถนัด เช่น การฟังเพลง วาดรูป การแสดงบนเวทีต่างๆ
3. ให้โอกาสเด็กได้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยตัวเอง พร้อมให้คำชมเชยกับความพยายามของเขา และไม่ควรวิจารณ์
ผลงานที่เขาทำออกมาด้วยการเปรียบเทียบ หรือตัดสินว่าแค่ว่า สวย หรือไม่สวย เพราะนอกจากจะทำให้เขาเสีย
กำลังใจและความมั่นใจแล้ว ยังไปปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเขาอีกทางหนึ่ง
4. ให้เด็กออกไปเปิดโลกกว้างตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่ถูกเติมเต็มด้วยความคิดสร้างสรรค์ของเหล่านักคิด
และนักสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการความรู้ต่างๆ
ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Dr.Howard Gardner) นักจิตวิทยาผู้นำเสนอทฤษฎีพหุปัญญา และอัจฉริยภาพด้านต่างๆ 8 ประการ
ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวเป็นที่รู้จักและมีการนำไปใช้ในการจัดหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล ดร.การ์ดเนอร์ไม่เชื่อว่า
การวัดอัจฉริยภาพด้วยการทดสอบ IQ (IQ test) นั้นสามารถใช้เป็นเครื่องมือวัดที่แน่นอนได้ แต่เชื่อว่าอัจฉริยภาพสามารถ
สร้างได้ในตัวบุคคลด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเฉพาะตัวเพื่อพัฒนาซึ่งศักยภาพนั้น
ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ กล่าวว่า
มนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพในตัวเองสำหรับอัจฉริยภาพด้านต่างๆ แต่จะมีอัจฉริยภาพบางประการเท่านั้นที่สามารถพัฒนาขึ้นได้
มากกว่าด้านอื่น ซึ่งจำเพาะกับคนๆนั้นเท่านั้น
ทฤษฎีพหุปัญญา และอัจฉริยภาพด้านต่างๆ 8 ประการประกอบด้วย(คลิกอ่านเพิ่มเติม)
ต้นไม้ดูเจริญงอกงามเพราะแตกใบอ่อนอยู่เสมอ
ชีวิตจะงอกงามเหมือนต้นไม้ เริ่มต้นได้จากความคิด
“ความคิดสร้างสรรค์คือความงอกงามของชีวิต”
คุณคือคนที่มีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ ความคิดสร้างสรรค์มากจาก
ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับปัญญาด้านดนตรี
ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ
- ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) มีความสามารถในการซึมซับ สัมผัสสุนทรีย์ทางดนตรีได้ดี
ลายนิ้วที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นิ้วนางซ้าย+
นิ้วชี้ซ้าย
ข้อสังเกตที่เป็นลักษณะเด่น
- ชอบร้องรำทำเพลง เล่นดนตรี
- ชอบเสียงต่าง ๆ ชอบธรรมชาติ
- แยกแยะเสียงต่าง ๆ ได้ดี รู้จักท่วงทำนอง เรียนรู้จังหวะดนตรีได้ดี
- ชอบผิวปาก หรือฮัมเพลงเบา ๆ ขณะทำงาน
- ชอบการเคาะโต๊ะ หรือขยับเท้าตามจังหวะเมื่อฟังเพลง
- สามารถจดจำเสียงที่เคยได้ยินแม้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งได้
- สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชิ้น
- มักจะได้ยินเสียงเพลงจากภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุก้องอยู่ในหูเสมอ ๆ
อาชีพที่สอดคล้อง วาทยากร นักดนตรี นักแต่งเพลง นักวิจารณ์ดนตรี ครูเพลง
การพัฒนา
- พัฒนาการเล่นเครื่องดนตรี ร้องเพลง ฟังเพลงสม่ำเสมอ
- หาโอกาสดูการแสดงดนตรี หรือฟังดนตรีเป็นประจำ
- บันทึกเสียงดนตรีที่นักเรียนแสดงไว้ฟังเพื่อปรับปรุงหรือชื่นชมผลงาน
ให้ร้องรำทำเพลงร่วมกับเพื่อนหรือคุณครูเสมอ ๆ
- ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)
ลายนิ้วที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นิ้วชี้ซ้าย+นิ้วก้อยซ้าย
ข้อสังเกตที่เป็นลักษณะเด่น
มีความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี
- ชอบวาดเขียน มีความสามารถทางศิลป
- ชอบฝันกลางวัน ชอบหลับตาคิดถึงภาพในความคิด จินตนาการ
- ชอบวาดภาพ ขีดเขียนสิ่งต่าง ๆ ลงในกระดาษ สมุดจดงาน
- ชอบอ่านแผนที่ แผนภูมิต่าง ๆ
- ชอบบันทึกเรื่องราวไว้ในภาพถ่ายหรือภาพวาด
- ชอบเล่นเกมต่อภาพ (Jigsaw Puzzles) เกมจับผิดภาพ หรือเกมที่เกี่ยวกับภาพ
- ชอบเรียนวิชาศิลปศึกษา เรขาคณิต พีชคณิต
- ชอบวาดภาพในลักษณะมุมมองที่แตกต่างออกไปจากธรรมดา
- ชอบดูหนังสือที่มีภาพประกอบมากกว่าหนังสือที่มีแต่ข้อความ
อาชีพที่สอดคล้อง ศิลปิน ช่างภาพ วาดรูป นักออกแบบ สถาปนิก มัณฑนากร นักประดิษฐ์ ฯลฯ
การพัฒนา
- ฝึกทำงานศิลป งานประดิษฐ์ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดได้อย่างอิสระ
- ชมนิทรรศการศิลป พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
- ฝึกให้ใช้กล้องถ่ายภาพ การวาดภาพ สเก็ตซ์ภาพ
- จัดเตรียมอุปกรณ์การวาดภาพหรือ จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานด้านศิลป
- ฝึกการเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ เกมตัวเลข เกมที่ต้องแก้ปัญหา
- เรียนรู้การใช้จินตนาการ หรือความคิดที่อิสระ ชอบเรียนด้วยการได้เห็นภาพ การดู การรับรู้ทางตา
- ฝึกให้ใช้หรือเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การใช้จินตนาการ
- ฝึกเล่นเกมเกี่ยวกับภาพ เกมตัวต่อเลโก้ เกมจับผิดภาพ ฯลฯ"
เรียนรู้เพิ่มเติม เรื่องลายนิ้วมือ วิเคราะห์หาพหุปัญญา 8 ประการด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ลายผิวนิ้วมือ
6 แบบบอกความเป็นตัวตน ระดับจิตใต้สำนึก
https://goo.gl/4MWpyP
อ่านเพิ่มเติมเพื่อรู้จักตัวเองมากขึ้นจากลายนิ้วมือ
https://goo.gl/JttgYV
ดูตัวอย่างผลวิเคราะห์ลายนิ้วมือ แบบเต็ม 1 คน