Open menu

ลายมือบอกเคราะห์ได้
เคราะห์ คือ กรรมชั่วหรือบาปที่เคยทำไว้และตามมาให้ผลในปัจจุบัน ทำให้ประสบกับชะตากรรม อันเลวร้ายเป็นทุกข์ (ทนได้ยาก หรือทนไม่ได้)
ส่วนโชค คือบุญหรือความดีที่ทำมาแต่อดีตตามมาให้ผลทันในปัจจุบัน ทำให้ชีวิตนี้มีแต่ความสุข ประสบแต่ความสำเร็จ และจำให้ขึ้นใจว่า
การ สะเดาะเคราะห์ คือการแก้กรรม โดย วิธีการละชั่ว คือแก้กรรมใหม่ หันมาทำแต่กรรมดีพร้อมกับ รักษากรรมดีความดี (มรรค 8)เอาไว้ให้ได้ และหมั่นชำระล้างจิตใจให้ใสสะอาด ไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เศร้าหมองอีกต่อไป เพียงเท่านี้ก็ถือว่า ได้สะเดาะเคราะห์ต่อชะตาที่ถูกต้องแล้ว



ประเพณีการสะเดาะเคราะห์ ทำให้เกิดมงคลจริงหรือไม่ เมื่อความเสียหายหรือเรื่องเลวร้ายเหล่านี้เกิดขึ้น ต่างก็พากันคิดว่าเป็นเคราะห์ร้าย ที่ต้องหาทางสะเดาะ เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้ชีวิตรอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ และมักพูดรวมกับการต่ออายุ เป็นการสะเดาะเคราะห์ต่ออายุ หรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดี ที่เรียกว่าแก้กรรม โดยส่วนใหญ่นิยมทำในโอกาสสำคัญๆ เช่น

๑.สะเดาะ เคราะห์วันเกิด เป็นการแก้เคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี เสริมดวงชะตาชีวิตให้กับ ตัวเองด้วยดวงชะตาของตัวเอง ทำให้ดวงเกิดพลังเพื่อเสริมดวงให้ดีเด่นเป็นสง่าราศีแก่ตัวเอง
๒.สะเดาะ เคราะห์วันสำคัญของชาติหรือศาสนา เป็นการเอ่ยอ้างอัญเชิญอานุภาพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดจนพระบารมีของพระมหากษัตริย์และเทพาอารักษ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ให้มาช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายหรือเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นให้อันตรธาน ไปสิ้น พร้อมทั้งช่วยปกปักรักษาอภิบาลและคุ้มครองให้มีแต่ความสุขสมร่มเย็นตลอดไป
๓.สะเดาะ เคราะห์วันสงกรานต์ นิยมทำพร้อมกับการทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายายที่เสียชีวิตแล้ว ให้ท่านเหล่านั้นอำนวยอวยพรขับไล่เสนียดจัญไรไม่ให้เข้ามาย่ำยีลูกหลาน
๔.สะเดาะ เคราะห์วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เชื่อว่าเป็นการแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีในหนึ่งปีที่ผ่านมาให้ดีขึ้น เพิ่มความดีให้กับดวงและเสริมสง่าราศีสร้างเคล็ดส่งชีวิตสู่สูตรแห่งความ สำเร็จ พร้อมกับการเริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่ของทุกปี โดยเชื่อกันว่า เมื่อคนเราเริ่มต้นได้ดี ก็จะทำให้ชีวิตมีความสุข และประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้านตลอดทั้งปีต่อไปอย่างแน่นอน
วิธี การสะเดาะเคราะห์ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ ให้ทำการสะเดาะเคราะห์ ด้วยวิธีการจัดหา เครื่องสักการะและอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ในพิธี ไม่ว่าจะเป็นการค้ำโพธิ์ค้ำไทรของภาคกลาง ค้ำโพธิ์ค้ำไฮ อันเป็นประเพณีนิยมทางภาคเหนือ หรือภาคอีสานก็ตาม หรือการจัดเครื่องสักการะดอกไม้หรือพวงมาลัย ธูป เทียนตั้งบูชาพระเคราะห์ประจำทิศและเพื่อบูชาพระประจำวันเกิด พร้อมทั้งมีการสวดพระคาถาสะเดาะเคราะห์มีกำหนดตามอายุหรือตามกำลังวัน
บางคนก็ถือโอกาสทำบุญใส่บาตร บริจาคเป็นทาน ปล่อยสัตว์ให้ชีวิตเป็นทาน สวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ
แต่ ปัจจุบันก็ยังมีผู้ให้ความสนใจนิยมปฏิบัติอยู่เป็นประจำ บางคนเห็นว่าเป็นช่วงที่ดวงตกมากๆ เช่น งานมีอุปสรรค ธุรกิจมีปัญหา รักร้าว การเงินขัดข้อง เจ็บป่วยบ่อยๆ เพื่อให้ชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้นถึงกับนิมนต ์พระมาเจริญพระพุทธมนต์เป็นการสะเดาะเคราะห์ ต่ออายุให้เป็นเรื่องเป็นราวเลย ก็มี โดยถือแบบอย่างมาแต่โบราณคือ
ใน สมัยพุทธกาล มีเรื่องกล่าวไว้ว่า พราหมณ์หนุ่มชาวเมืองทีฆลัมพิกา ๒ คน พากันออกบวชในลัทธิหนึ่งนอกพระพุทธศาสนา เที่ยวบำเพ็ญตบะตามลัทธิของตนอยู่นานถึง ๔๘ ปีต่อมาพราหมณ์คนหนึ่งคิดว่า "ถ้าเรายังคงบวชอยู่อย่างนี้ คงไม่มีใครสืบสกุลแน่ ทางที่ดีเราควรสึกไปมีครอบครัวน่าจะดีกว่า"
จากนั้นก็ได้สึกออกมามีครอบครัว สร้างเนื้อสร้างตัวจนมั่นคงดี ต่อมาภรรยาก็ท้องและคลอดบุตรเป็นทารกชาย
ส่วน สหายที่บวชไม่สึก เที่ยวไปในที่ต่างๆ พอสมควรแล้วก็เดินทางกลับมาสู่เมืองนั้น พอเขารู้ว่าเพื่อนเดินทางมาถึงก็พาภรรยาพร้อมด้วยบุตรชายไปเยี่ยม
ใน ระหว่างที่เขากับภรรยาไหว้ เพื่อนก็พูดให้พรว่า "ขอให้ท่านจงมีอายุยืน" แต่พอเขาอุ้มลูกเข้าไปให้ไหว้เพื่อนกลับนิ่งเงียบไม่พูดจาอะไรเลย เขาเห็นผิดสังเกตจึงถามเพื่อนว่า "ท่าน เพราะเหตุใด เวลาเรากับภรรยาไหว้ ท่านพูดให้พรขอให้อายุยืน แต่พอลูกชายของเราไหว้บ้างท่านกลับนิ่งเฉย" พรามณ์บอกว่า "เด็กคนนี้จะเกิดอันตรายถึงกับต้องเสียชีวิต"เพื่อน จึงถามพราหมณ์ว่า "เขาจะมีชีวิต อยู่ได้นานเพียงใด" พราหมณ์ตอบว่า "เพียง ๗ วันเท่านั้นเอง" "มีทางแก้ไขหรือไม่" เขาถามต่อ พราหมณ์ตอบว่า "เราไม่รู้ ท่านลองเข้าไปถามพระสมณโคดมดูสิ ท่านอาจได้คำตอบที่น่าพอใจก็ได้"เพราะ ความรักที่มีต่อลูก เขาจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและ ทูลถามข้อข้องใจ พระพุทธเจ้าตรัสเหมือนที่พราหมณ์พูดไว้ไม่มีผิด เขาจึงทูลถามถึงวิธีแก้ไขกับพระองค์พระ พุทธเจ้ามีพระดำรัสว่า "ยังพอแก้ไขได้ ให้ท่านสร้างมณฑปบริเวณใกล้ๆ ประตูบ้าน แล้วตั้งโต๊ะไว้ตรงกลางปูอาสนะไว้รอบๆ โต๊ะ จำนวน ๘ หรือ ๑๖ ที่ ก็ได้ จากนั้นให้พระสาวกของเราหมุนเวียนมานั่งที่อาสนะ และสวดพระปริตรตลอดระยะเวลา ๗ วันไม่หยุด เมื่อทำได้อย่างนี้ บุตรชายของท่านก็จะไม่มีอันตรายใดๆ"พราหมณ์ ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกประการ ตลอดระยะเวลา ๗ วันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ามานั่งสวดพระปริตร วันสุดท้ายพระพุทธองค์เสด็จมาที่มณฑลพิธี ทำให้เทวดาในจักรวาลทั้งหมด มาร่วมประชุมพร้อมกัน เพื่อรับเสด็จพระพุทธองค์
ใน สัปดาห์นั้นเอง อวรุทธกยักษ์ ซึ่งมีหน้าที่ปรนนิบัติท้าวเวสสุวรรณ มานานถึง ๑๒ ปี ได้รับพรจากท้าเวสสุวรรณว่า "จากวันนี้ไปอีก ๗ วัน ให้ท่านจับเด็กคนนี้กินได้" (ลูกของพราหมณ์) ในระหว่างที่พระนั่งสวดพระปริตรถึง ๗ วัน อวรุทธกยักษ์ก็มายืนรออยู่ แต่พอพระพุทธองค์เสด็จมาถึงเขตมณฑลนั้น พวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่มาเข้าเฝ้า เทวดาผู้มีศักดิ์น้อยต่างก็ต้องร่นถอยออกไปไกล ไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะเข้าเฝ้า ส่วนอวรุทธกยักษ์ยิ่งต้องถอยห่างออกไปไกล จนไม่สามารถเข้าใกล้เขตมณฑลพิธีได้เลย จนเวลาผ่านไปครบ ๗ วัน เห็นว่าไม่มีหวังและพ้นกำหนดพรของท้าวเวสสุวรรณแล้วจึงหนีกลับไป
ใน คืนวันสุดท้าย แม้พระพุทธองค์ก็ทรงร่วมทำพระปริตรจนสว่าง เมื่อเห็นว่าผ่านเลย ๗ วันแล้ว พราหมณ์จึงได้อุ้มบุตรชายเข้ามาไหว้พระพุทธองค์อีกครั้ง เขาตื่นเต้นและดีใจมากที่พระพุทธเจ้ามีพระดำรัสว่า "ขอให้เจ้าจงมีอายุยืนเถิด""ทารก จะมีอายุยืนเพียงใดพระเจ้าข้า" พราหมณ์ทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตอบว่า "เขาจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี" พราหมณ์สองสามีภรรยาได้ตั้งชื่อบุตรว่า "อายุวัฒนกุมาร" และต่อมาพวกเขาก็หันเข้ามานับถือพระพุทธศาสนา
ครั้นอายุวัฒนกุมารเจริญเติบโตแล้ว ก็เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาและบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุดจาก เรื่องราวนี้ ทำให้ชาวพุทธถือเป็นแบบการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาที่ถูกต้องตามหลัก และได้รับการสืบทอดถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน แต่การสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาในสมัยพุทธกาล เน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับพลังพุทธมนต์และพลังของพระปริตรที่สวดตลอดระยะเวลา ที่กำหนดไว้อีก อย่างหนึ่งก็คือ การที่อวรุทธกยักษ์ไม่สามารถ เข้าจับทารกกินได้ นอกจากอำนาจของพระปริตร ที่พระสงฆ์กำลังสวดอยู่แล้ว ก็เป็นเพราะอานุภาพของพระพุทธเจ้าด้วย คือในวันที่ ๗ ระหว่างที่พระพุทธองค์เสด็จมาถึง ก็มีเทวดาหลายๆ ระดับชั้นพากันเข้าเฝ้า ทำให้อวรุทธกยักษ์ไม่สามารถหาโอกาสเข้ามาจับทารกไปกินได้เลย
ปัจจุบัน กาลเวลาผ่านเลยไปถึง ๒,๕๕๓ ปี พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอริยสาวกก็ปรินิพพานแล้ว คงเหลือสมมติสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงคง อยู่ต่อไป ดัง นั้น หากต้องการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อ ชะตาให้ได้ผลจริงๆ นอกจากมีการจัด เตรียมเครื่องสักการะดอกไม้ ธูปเทียน และอื่นๆ ตลอดจนนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์และ สวดพระปริตรตามประเพณีนิยม อย่างถูกต้องแล้ว สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยนั่นก็คือ  การสร้างกรรมดี ละชั่วทั้งปวง ประพฤติตนให้อยู่ในศีล และสัมมาหรือมรรค 8 แล้ว กรรมไม่ดีต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นให้ชีวิตเศร้าหมองอีกต่อไป.